ป่าหิมพานต์

K7579553-0

  ป่าหิมพานต์ หรือ หิมวันต์ เป็นป่าในวรรณคดีและความเชื่อในเรื่องไตรภูมิตามคติศาสนาพุทธและฮินดู มีความเชื่อว่า ป่าหิมพานต์ตั้งอยู่บนเขาหิมพานต์หรือหิมาลายา (หิมาลัย) คำว่า “หิมาลายา” เป็นมีรากศัพท์จากภาษาสันสกฤตแปลว่าสถานที่ที่ถูกปกคลุมด้วยหิมะ เขาหิมพานต์ประดิษฐานอยู่ในชมพูทวีปมีเนื้อที่ประมาณ 3,000 โยชน์ (1 โยชน์ เท่ากับ 10 ไมล์ หรือ 16 กิโลเมตร) วัดโดยรอบได้ 9,000 โยชน์ ประดับด้วยยอด 84,000 ยอด มีสระใหญ่ 7 สระคือ

  1. สระอโนดาต
  2. สระกัณณมุณฑะ
  3. สระรถการะ
  4. สระฉัททันตะ
  5. สระกุณาละ
  6. สระมัณฑากิณี
  7. สระสีหัปปาตะ

                                                                      

สระอโนดาต เป็นสระที่ได้ยินชื่อบ่อยที่สุด ธารน้ำทั้งหลาย ย่อมไหลลงมาที่สระอโนดาต พื้นสระอโนดาต เป็นแผ่นหินกายสิทธิ์ ชื่อมโนศิลา บริเวณที่เป็นดิน ก็เป็นดินกายสิทธิ์ชื่อหรดาล (ใช้ถูตัวได้ดี) น้ำใสแจ๋วสะอาด ท่าอาบน้ำ มีมากมาย เป็นที่สรงสนานแห่งพระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า พระอรหันต์ทั้งหลาย รวมถึงเหล่าผู้วิเศษผู้มีฤทธิ์ทั้งหลาย เช่น ฤๅษี วิทยาธร ยักษ์ นาค เทวดา เป็นต้น
รอบสระอโนดาต มียอดเขารายรอบอยู่ ๕ ยอดเขาได้แก่

     ยอดเขาสุทัสสนะ (สุทัสสนกูฏ)
     ยอดเขาจิตตะ (จิตรกูฎ )
     ยอดเขากาฬะ (กาฬกูฎ)
     ยอดเขาคันธมาทน์ (คันธมาทนกูฏ)
     ยอดเขาไกรลาส  (ไกรลาสกูฏ)

ยอดเขาสุทัสสนะ เป็นทองคำ รูปทรงโค้งตามแนวสระอโนดาต และปลายยอดเขา มีสัณฐานโค้งงุ้มดังปากกา โอบปิดด้านบนสระอโนดาตไว้ ไม่ให้โดนแสงอาทิตย์ แสงจันทร์ตรงๆ

ยอดเขาจิตตะ เป็นรัตนะ รูปทรงคล้ายยอดเขาสุทัสสนะ

ยอดเขากาฬะ  เป็นแร่พลวง หินแห่งยอดเขาสีนีล รูปทรงคล้ายยอดเขาสุทัสสนะ

ยอดเขาคันธมาทน์ รูปทรงคล้ายยอดเขาสุทัสสนะ ด้านบนยอดเขา เป็นพื้นราบเรียบ (เหมือนภูกระดึง) อุดมไปด้วยไม้หอมนานาพันธุ์  ทั้งไม้รากหอม  ไม้แก่นหอม  ไม้กระพี้หอม  ไม้เปลือกหอม  ไม้สะเก็ดหอม ไม้รสหอม  ไม้ใบหอม  ไม้ดอกหอม  ไม้ผลหอม  ไม้ลำต้นหอม  ทั้งยังอุดมไปด้วย ไม้อันเป็นโอสถนานาประการ  ในวันอุโบสถ(วันพระ) ข้างแรม ยอดเขานี้จะเรืองแสงเหมือนถ่านไฟคุ ข้างขึ้น แสงยิ่งเปล่งรัศมีโชติช่วงกว่าเดิม… ภายในเขาคันธมาทน์ มีถ้ำบนยอดเขาชื่อว่าถ้ำนันทมูล เป็นที่อยู่ของพระปัจเจกพุทธเจ้า ประกอบไปด้วยถ้ำทอง ถ้ำแก้ว และถ้ำเงิน

     ยอดเขาไกรลาส เป็นภูเขาเงิน  รูปทรงคล้ายยอดเขาสุทัสสนะ วิมานฉิมพลีแห่งพญาครุฑ ก็อยู่ที่เขาไกรลาสนี้

ยอดเขาทั้ง๕ ตั้งตระหง่านรายล้อมสระอโนดาตไว้ และมีเทวดารวมถึงนาค เป็นผู้ดูแลรักษา ธารน้ำทั้งหลาย จากเขาหิมพานต์ ทุกสารทิศ จะไหลมาผ่านยอดเขา๕ลูกนี้ (ลูกใดลูกหนึ่ง) จากนั้น ก็จะไหลรวมลงสู่สระอโนดาต
(เหตุที่ได้ชื่อว่าอโนดาต ก็เพราะ มีเงื้อมผาโค้งงุ้มดังปากกา โอบบังแสงไว้ด้านบน ทำให้แสงอาทิตย์และแสงจันทร์ ไม่สามารถส่องผ่านไปโดนน้ำตรงๆ ได้ แสงเพียงลอดเข้าด้านข้าง ในแนวเหนือใต้ ตรงระหว่างรอยต่อยอดเขากับยอดเขา เท่านั้น สระนี้ จึงได้ชื่อว่า “อโนดาต”…แปลว่า ไม่ถูกแสงส่องให้ร้อน..)

     จากสระอโนดาต… จะมีปากทางให้น้ำไหลระบายออกอยู่สี่แห่ง ทิศละแห่ง คือ

     สีหมุข… ปากแม่น้ำแดนราชสีห์ (เป็นถิ่นที่ราชสีห์อาศัยอยู่มาก)
     หัตถีมุข… ปากแม่น้ำแดนช้าง (เป็นถิ่นที่ช้างอาศัยอยู่มาก)
     อัสสมุข… ปากแม่น้ำแดนม้า (เป็นถิ่นที่ม้าอาศัยอยู่มาก)
     อุสภมุข… ปากแม่น้ำแดนโคอุสภะ (เป็นถิ่นที่โคอาศัยอยู่มาก)

เกิดเป็นแม่น้ำใหญ่สี่สาย ไหลล่อเลี้ยงรอบนอกของเขาหิมพานต์ ก่อนลงสู่มหาสมุทร…

ด้านทิศตะวันออก จากสระอโนดาต เลี้ยวขวาสระอโนดาตสามเลี้ยว  ไม่ข้องแวะกับแม่น้ำอีกสามสาย  ไหลผ่านถิ่นอมนุษย์ทางภูเขาหิมพานต์ ด้านทิศตะวันออก  ลงสู่มหาสมุทร

ด้านทิศตะวันตก จากสระอโนดาต เลี้ยวขวาสระอโนดาตสามเลี้ยว  ไม่ข้องแวะกับแม่น้ำอีกสามสาย  ไหลผ่านถิ่นอมนุษย์ทางภูเขาหิมพานต์ ด้านทิศตะวันตก  ลงสู่มหาสมุทร

ด้านทิศเหนือ จากสระอโนดาต เลี้ยวขวาสระอโนดาตสามเลี้ยว  ไม่ข้องแวะกับแม่น้ำอีกสามสาย  ไหลผ่านถิ่นอมนุษย์ทางภูเขาหิมพานต์ ด้านทิศเหนือ  ลงสู่มหาสมุทร
(ที่แม่น้ำทุกสาย ไหลวนรอบสระอโนดาตเหมือนกัน แต่ไม่ข้องแวะกัน เพราะ ไหลลอดอุโมงค์หิน ไหลลอดภูเขา ออกไป)

ด้านทิศใต้ จากสระอโนดาต เลี้ยวขวาสระอโนดาตสามเลี้ยว  แล้วไหลตรงไปทางใต้ประมาณ ๖๐ โยชน์  โผล่ออกมาใต้แผ่นหิน ตรงบริเวณหน้าผา กลายเป็นน้ำตกสูงใหญ่ยิ่ง ความสูงสายน้ำตกประมาณ ๖๐ โยชน์ สายน้ำตกอันรุนแรงนั้น ตกกระทบแผ่นหินเบื้องล่าง จนหินแตกกระจายออก  ในที่สุดกลายเป็นแอ่งน้ำขนาดใหญ่ รองรับสายน้ำตกนั้น  แอ่งน้ำนี้มีชื่อเรียกว่า “ติยัคคฬา”  เมื่อน้ำมากขึ้น ได้พังทำลายหินอันโอบล้อมอยู่ออกไปได้ทางหนึ่ง เจาะกระแทกหินที่ไม่แข็ง เป็นอุโมงค์ ไหลไป จนถึงส่วนที่เป็นดิน ก็เจาะทะลุดิน เป็นอุโมงค์ และไหลลอดตามอุโมงค์ดินนั้นไป  จนถึงภูเขาหินขวางอยู่ (ติรัจฉานบรรพต=ภูเขาขวาง) ภูเขานี้เรียกว่า วิชฌะ เมื่อน้ำกระทบหินเข้า ก็ไปต่อไม่ได้โดยง่าย แรงน้ำได้ดันจุดที่อ่อนแอที่สุดออกไปได้ ๕ จุด เกิดเป็นทางแยก ๕ แยก และกลายเป็นต้นน้ำสำคัญแห่งมนุษย์ ๕ สาย ด้วยกัน คือ แม่น้ำคงคา แม่น้ำยมุนา แม่น้ำอจิรวดี แม่น้ำสรภู แม่น้ำมหิ 

ในป่าหิมพานต์นี้เต็มไปด้วยสัตว์นานาชนิด ซึ่งล้วนแปลกประหลาดต่างจากสัตว์ที่มนุษย์ทั่วไปรู้จัก เป็นสัตว์หลายอย่างผสมกันแล้วตั้งชื่อขึ้นใหม่ สัตว์เหล่านี้เกิดจากจินตนาการของจิตรกรไทยโบราณที่ได้สรรค์สร้างภาพจากเอกสารเก่าต่าง ๆ บรรดาสัตว์ทั้งหมดที่อ้างถึงนี้เป็นที่รู้จักในนามของสัตว์หิมพานต์

  สัตว์หิมพานต์ คือสัตว์ในจินตนาการที่กวี หรือจิตรกร พรรณนาถึง อาศัยอยู่ในป่าหิมพานต์หรือเขาไกรลาส ดังที่ปรากฏในวรรณคดีไตรภูมิพระร่วง และรามเกียรติ์ โดยมีลักษณะของสัตว์หลายชนิดมาประกอบกันในตัวเดียว จำแนกออกเป็น 3 ประเภท คือ สัตว์ทวิบาท (มีสองขา) สัตว์จตุบาท (มีสี่ขา) และจำพวกปลา 

จำแนกตามชนิดสัตว์                           

นก
อสูรปักษา
อสุรวายุพักตร์
นกการเวก
ครุฑ
กินรี
เทพปักษี
นกทัณฑิมา
หงส์
หงส์จีน
คชปักษา
มยุระคนธรรพ์
มยุระเวนไตย
สินธุปักษี
สีหสุบรรณ
สุบรรณเหรา
มังกรสกุณี
นาคปักษี
นาคปักษิณ
นกหัสดี
นกอินทรี
นกสัมพาที
กินนร
สกุณเหรา
นกเทศ
พยัคฆ์เวนไตย
นกสดายุ
เสือปีก
อรหัน


สิงห์ สิงห์ผสม
บัณฑุราชสีห์
กาฬสีหะ
ไกรสรราชสีห์
ติณสีหะ



เกสรสิงหะ
เหมราช
คชสีห์
ไกรสรจำแลง
ไกรสรคาวี
เทพนรสีห์
ฑิชากรจตุบท
โต
ไกรสรนาคา
ไกรสรปักษา
โลโต
พยัคฆ์ไกรสร
สางแปรง
สิงหคาวี
สิงหคักคา
สิงหพานร
สกุณไกรสร
สิงห์
สิงโตจีน
สีหรามังกร
โตเทพสิงฆนัต
ทักทอ
นรสิงห์
ม้า ปลา ช้าง กิเลน กวาง
ดุรงค์ไกรสร
ดุรงค์ปักษิณ
เหมราอัสดร
ม้า
ม้าปีก
งายไส
สินธพกุญชร
สินธพนที
โตเทพอัสดร
อัสดรเหรา
อัสดรวิหก




เหมวาริน
กุญชรวารี
มัจฉนาคา
มัจฉวาฬ
นางเงือก
ปลาควาย
ปลาเสือ
ศฤงคมัสยา
เอราวัณ
กรินทร์ปักษา
วารีกุญชร
ช้างเผือก



กิเลนจีน
กิเลนไทย
กิเลนปีก




มารีศ
พานรมฤค
อัปสรสีหะ




มนุษย์ จระเข้ ลิง วัวควาย แรด สุนัข ปู นาค
คนธรรพ์
มักกะลีผล
กุมภีนิมิตร
เหรา
กบิลปักษา
มัจฉาน
มังกรวิหค
ทรพา ทรพี
แรด
สุนัข
ปู
นาค

ตัวอย่าง

 คนธรรพ์ ศาสนาฮินดูเชื่อว่า คนธรรพ์มีกำเนิดจากพระพรหม แต่บางทีก็ว่าเป็นโอรสพระกัศยปฤษี ตามปกติพวกคนธรรพ์มีบ้านเมืองของตนเองอยู่ระหว่างสวรรค์และโลกมนุษย์ และกล่าวว่าเป็นพวกมีนิสัยเป็นเจ้าชู้ มีเสน่ห์ทำให้ผู้หญิงหลงรัก

คนธรรพ์มีหน้าที่ปรุงน้ำโสม (เหล้าเทวดา) สำหรับเทวดาเสวย และพวกที่อยู่บนสวรรค์ของพระอินทร์ มีหน้าที่ขับร้องและเล่นดนตรีบำเรอเทวดา ดังนั้นวิชาดนตรีจึงได้ชื่อว่าคนธรรพวิทยา

ในวรรณคดีไทย คนธรรพ์เป็นชาวสวรรค์ที่ชำนาญในวิชาดนตรีและขับร้อง และคนธรรพ์ที่เป็นหัวหน้าของเหล่าคนธรรพ์ เรียกว่า ประคนธรรพ์ หรือ ประคนธรรพ หรือ ประโคนธรรพ์ หรือ ประโคนธรรพ

 มักกะลีผล ในวรรณคดีระบุว่า มักกะลีผลเมื่อสุกแล้ว จะกลายเป็นหญิงสาวงามอายุราว 16 แต่ที่ศีรษะจะยังมีขั้วติดอยู่ นิ้วมือทั้ง 5 ยาวเท่ากัน ผมยาวสีทอง ตากลมโต คอเป็นปล้อง ไม่มีโครงกระดูก แต่ส่งเสียงได้เหมือนมนุษย์จริง ๆ มักกะลีผลที่ยังอ่อนมีลักษณะเหมือนคนนั่งคู้เข่าอยู่ เมื่อโตขึ้นขาจะเหยียดออกก่อน เมื่อโตเต็มที่จึงเหยียดตัวเหมือนคนยืนตัวตรง บรรดาฤาษี กินนร วิทยาธร คนธรรพ์ ที่ยังมีตัณหาอยู่ จะมาออที่โคนต้น เพื่อรอสุกก็จะแย่งชิงกันเด็ดไปเป็นภรรยา ต้องยื้อแย่งกัน ทำร้ายกันถึงตาย ผู้ที่เหาะได้ก็เหาะขึ้นไปเก็บ ผู้ที่เหาะไม่ได้ก็ใช้ไม้สอยหรือปีนขึ้นไปเก็บ เมื่อมาแล้วก็จะนำไปที่อยู่ของตน ทะนุถนอมระแวดระวังอย่างดีมิให้ใครแย่งเอาไป แต่มักกะลีผลมีชีวิตอยู่ได้เพียง 7 วัน ก็จะเน่าเปื่อยไป

 เงือก เป็นอมนุษย์ชนิดหนึ่งตามความเชื่อนิยายปรัมปราเกี่ยวกับน้ำ โดยเป็นจินตนาการเกี่ยวกับสัตว์น้ำ โดยมากจะเล่ากันว่าเงือกนั้นเป็นสัตว์ครึ่งมนุษย์ มีส่วนครึ่งท่อนบนเป็นคน ส่วนครึ่งท่อนล่างเป็นปลา ในหลายประเทศทั่วโลก มีเรื่องเล่าเกี่ยวกับตำนานเงือกมากมาย

มีเรื่องเล่าว่า เงือกนั้นสามารถเปลี่ยนโคนหางให้กลายเป็นขาสองข้างแบบมนุษย์ได้เมื่อต้องการจะอาศัยอยู่บนบก โดยเงือกจะขึ้นฝั่งและผึ่งหางให้แห้ง จากนั้นหางจะตกสะเก็ด และลอกคราบออก เช่นเดียวกับหนอนที่ลอกคราบออกเพื่อกลายเป็นผีเสื้อ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น การลอกคราบเพื่อเปลี่ยนแปลงนั้นต้องใช้ระยะเวลาพอสมควร เงือกจึงสามารถอาศัยอยู่ได้ทั้งในน้ำและบนบก และอาจปะปนอยู่ร่วมกับสังคมมนุษย์

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ เงือก

 กินรี (ตัวเมีย) และ กินนร (ตัวผู้) มีร่างกายท่อนบนเป็นมนุษย์ ท่อนล่างเป็นนก มีปีกบินได้ ตามตำนานเล่าว่าอาศัยอยู่ในป่าหิมพานต์เชิงเขาไกลาศ นับเป็นสัตว์ที่มีปรากฏในงานศิลปะของไทยมาก ส่วนในวรรณคดีไทยก็มีการอ้างถึงกินรีด้วยเช่นกัน

  นรสิงห์ หรือ นรสีห์ (สันสกฤต: नरसिंह, อังกฤษ: Narasimha) เป็นอวตารร่างที่ 4 ของพระนารายณ์ตามเนื้อเรื่องในคัมภีร์ปุราณะ อุปนิษัท และคัมภีร์อื่น ๆ ของศาสนาฮินดู โดยมีร่างกายท่อนล่างเป็นมนุษย์ และร่างกายท่อนบนเป็นสิงโต นรสิงห์เป็นผู้สังหารหิรัณยกศิปุ อสูรตนซึ่งได้รับพรจากพระพรหมว่าจะไม่ถูกสังหารโดยมนุษย์หรือสัตว์ นรสิงห์เป็นที่รู้จักและบูชาโดยทั่วไป

 วารีกุญชร  มีรูปร่างเป็นช้างแต่มีเท้าเพียง 2 เท้าหน้า ลำตัวและหางเป็นปลาทั้งหมด หรือมีเท้าครบทั้ง 4 เท้า แต่มีหางเป็นปลา(วารีกุญชรที่มี 4 เท้า บางแห่งเรียกกุญชรวารี) อาศัยอยู่ในทะเลสีทันดร สามารถว่ายน้ำและดำน้ำได้ดี ประวัติของวารีกุญชรไม่มีที่มาอย่างแน่ชัด จิตรกรรมฝาผนังของวารีกุญชรมักเขียนบนฝาผนังของโบสถ์ตามวัดต่าง ๆ

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ วารีกุญชร

 นกการเวก หรือ ปักษาวายุภักษ์ (แปลว่า “นกกินลม ; สันสกฤต: कलविङ्क;kalaviṅka) เป็นนกในเทพปกรณัมของตะวันออก ปรากฏในป่าหิมพานต์ เรียกกันอีกชื่อหนึ่งในวรรณคดีเรื่อง ไตรภูมิพระร่วงว่า นกกรวิค อธิบายว่า บินได้สูงเหนือเมฆ มีเสียงไพเราะยิ่งนัก สัตว์ทุกชนิดเมื่อได้ยินแล้วจะต้องหยุดฟัง นอกจากนี้ยังปรากฏมีมาในพระบาลีว่าเสียงของพระพุทธเจ้านั้นเหมือนเสียงพรหม แจ่มใสชัดเจน อ่อนหวาน สำเนียงเสนาะ ไม่แตก ลึกซึ้ง มีกังวาลไพเราะและเหมือนเสียงนกการเวก ส่วนอาหารของนกการเวกนั้น มีกล่าวไว้ในคัมภีร์ปัญจสุทนีว่า นกการเวก กินน้ำมะม่วงสุกเป็นอาหาร แต่โดยที่นกชนิดนี้หายากหลงเข้าใจกันแต่ว่าอยู่บนท้องฟ้ากินลมเป็นอาหาร ตามวรรณคดีไตรภูมิพระร่วงนั้น กล่าวว่าขนนกการเวกนั้นเป็นที่ต้องการเพราะกลายเป็นทองคำได้

 ช้างเผือก (อังกฤษ: White Elephant) คือช้างที่มีลักษณะต่างจากช้างธรรมดาทั่วไป ด้วยมีนัยน์ตา และเล็บสีขาว รวมถึงสีผิวที่อ่อนกว่าช้างธรรมดาทั่วไป อาจจะเป็นสีชมพูหรือสีขาวก็ได้ โดยที่มิใช่เป็นสัตว์เผือก จัดได้ว่ามีลักษณะที่หาได้ยาก จึงเป็นที่เชื่อกันว่าช้างเผือกเป็นสัตว์ที่เป็นมงคลให้แก่ผู้ที่เป็นเจ้าของ และเป็นเครื่องมงคลชนิดหนึ่งในสัปตรัตนะแห่งพระเจ้าจักรพรรดิ ได้แก่ จักรแก้ว ช้างแก้ว (ช้างเผือก ชื่อ อุโบสถ) ม้าแก้ว มณีแก้ว นางแก้ว คฤหบดีแก้ว และ ปรินายกแก้ว

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ช้างเผือกในหลวง

 อรหัน (/ออ-ระ-หัน/)  มีรูปร่างตัวและปีกเป็นนก มี 2 เท้า แต่มีศีรษะเป็นมนุษย์หรือยักษ์ คล้ายกับกินรี โดยปกติมักพบตามภาพจิตรกรรมฝาผนังต่าง ๆ เช่น จิตรกรรมฝาผนังที่อุโบสถวัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหาร หรือภาพลายรดน้ำตามตู้พระธรรม เป็นต้น

 เหรา      เป็นสัตว์ค่อนไปทางจำพวกจระเข้ผสมกับนาค หลายคนเชื่อว่ามันเป็นสัตว์ที่อยู่ได้ทั้งบนบกและในน้ำ    กินเนื้อเป็นอาหาร เหรา หรือที่ชาวล้านนา และพม่า เรียกว่า มกร  (มะ-กะ-ระ) จริงๆแล้ว  ตัวมกรนั้นปรากฏเป็นสัตว์ในนิยายในความเชื่อของพม่า  เขมร และอินเดีย โดยมีลักษณะเทียบเคียงกับตัวเหราในป่าหิมพานต์ของไทย ตัวมกรเองก็จัดอยู่ในตระกูลจระเข้เช่นเดียวกัน     ที่ชาวภาคเหนือเรียกเหราว่ามกรนั้น เหตุก็เพราะทางภาคเหนือมีพื้นพี่ติดกับพม่า จึงรับอิทธิพลจากฝั่งพม่ามาโดยปริยาย บางครั้งเราก็เรียก  มกร ว่า เบญจลักษณ์ ,  ตัวสำรอก เนื่องจากในงานศิลปะ มกรมักจะคายหรือสำรอกเอาวัตถุใดๆออกมาทุกครั้ง

 

แหล่งข้อมูล : https://th.wikipedia.org/wiki/ป่าหิมพานต์

http://sitantara.50webs.com/lablae/plablae02.html

ใส่ความเห็น